การให้บริการ
OPAC ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
|
สำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับให้ผู้มาใช้บริการ
ใช้ค้นหาทรัพยากรของห้องสมุด โดยได้จัดเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับให้บริการ OPAC ประจำอยู่ตามห้องและชั้นต่างๆ
ภายในห้องสมุด
นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการ ยังสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือค้นภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้ ฐานข้อมูล OPAC นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหารายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดแล้ว ผู้ใช้บริการที่เป็นสมาชิกห้องสมุด ยังสามารถตรวจสอบรายการทรัพยากร, ยืมต่อผ่านระบบออนไลน์ และจองทรัพยากรห้องสมุดผ่าน Web OPAC ได้ด้วย |
สถานที่ที่ใช้ค้นหา
|
ผู้ค้นสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้นหาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
หรือจากที่ใดก็ได้ทั่วโลก
|
ช่องทางการเข้าสู่หน้าจอการค้นหาทรัพยากร
|
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น http://www.library.kku.ac.th/library/ โดยพิมพ์ URL นี้ ลงในช่อง Address
ของ Web Brower จากนั้นให้กด Enter หรือคลิกที่ Go |
|
2.
จะปรากฏหน้าจอในการค้นหา OPAC ซึ่งผู้ค้นสามารถเลือกสืบค้นทรัพยากรของห้องสมุดจากทางเลือก
ดังนี้
- ทางเลือกที่ 1 ค้นหนังสือ/สื่อโสตฯ/วารสาร - ทางเลือกที่ 2 สืบค้นวารสารไทย ผู้ค้นสามารถเลือกค้นหาแบบง่ายหรือแบบซับซ้อนก็ได้ - เลือกสืบค้นจากเมนู Quick Search เป็นการค้นหาแบบง่าย ไม่ซับซ้อน เข้าสู่หน้าโฮมของห้องสมุดก็สามารถค้นหาได้ทันที - คลิกที่ Advanced Search เพื่อเลือกค้นหาแบบซับซ้อนและสามารถจำกัดขอบเขตการค้นได้มากกว่ารูปแบบ Quick Search และ Basic Search |
|
|
คำอธิบายเมนูและทางเลือกต่างๆ
ที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลภายในห้องสมุด
|
|
|
|
![]() |
1.
การค้นหาหนังสือและสื่อโสตทัศนวัสดุ ประกอบไปด้วย 9 ทางเลือกสำหรับใช้ค้นหา
ได้แก่
|
1. ชื่อผู้แต่ง 2. ชื่อเรื่อง 3. ชื่อวารสาร 4. หัวเรื่อง 5. คำสำคัญ 6. เลขหมู่ระบบ LC 7. เลขหมู่ระบบ NLM 8. เลขหมู่ระบบอื่นๆ และ 9. เลขมาตรฐานสากล |
|
2. การค้นหารายการบรรณานุกรมของวารสารภาษาไทย ประกอบด้วย 5 ทางเลือกสำหรับใช้ค้นหา ได้แก่
|
|
2.ชื่อเรื่อง
3.ชื่อวารสาร
4.คำสำคัญ
5.หัวเรื่อง
เทคนิคการสืบค้นข้อมูล
การเตรียมตัวก่อนการค้นหา
|
1. ผู้ค้น จะต้องทราบว่าตนเอง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด และต้องมีข้อมูลประกอบในการค้นหา เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อสิ่งพิมพ์ หากไม่รู้ชื่อผู้แต่ง ชื่อสิ่งพิมพ์ ควรกำหนดคำค้นหรือหัวเรื่อง ที่จะใช้สำหรับการค้นหา เป็นต้น
2. รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา เช่น ถ้าต้องการค้นหาทรัพยากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งต้องการหาตัวเล่มในห้องสมุด ควรจะใช้ฐานข้อมูล OPAC เป็นต้น 3. ต้องรู้จักวิธีการใช้ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา เช่น รู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐาน หรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วย นอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ ได้แก่ การบันทึก การสั่งพิมพ์ การส่งข้อมูลทาง E-mail การจัดการรายการบรรณานุกรม เป็นต้น 4. ต้องรู้จักวิธีการใช้ห้องสมุดและการหาหนังสือบนชั้น ผู้ค้นต้องรู้วิธีการใช้ห้องสมุด และวิธีการหาหนังสือบนชั้น 5. รู้จักกฏ กติกา มารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา เนื่องจากปัจจุบันยังมีผู้ใช้บริการบางส่วนที่ยังใช้ห้องสมุดไม่เป็น ไม่รู้จักระเบียบฯ ตลอดจนมีการละเลิดลิขสิทธิ์ในการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น |
![]() |
1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) |
เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
|
1.1 ชื่อผู้แต่ง (Author)
|
เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้ |
1.1.1 ผู้แต่งคนไทย |
เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์ยกตัวอย่างเช่น |
- นางกุลธิดา ท้วมสุข - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท - ร.ต.อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ - พระยาอุปกิตติศิลปสาร - ว.วชิรเมธี - พระครูวิมลคุณากร |
ชื่อที่ใช้ค้น คือ
ชื่อที่ใช้ค้น คือ ชื่อที่ใช้ค้น คือ ชื่อที่ใช้ค้น คือ ชื่อที่ใช้ค้น คือ ชื่อที่ใช้ค้น คือ | กุลธิดา ท้วมสุข (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก) คึกฤทธิ์ ปราโมท, ม.ร.ว. (ให้เอาบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ มาต่อท้ายชื่อ) ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ให้ตัดยศหรือตำแหน่งออก) พระยาอุปกิตติศิลปสาร ว.วชิรเมธี พระครูวิมลคุณากร |
1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ |
ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น ยกตัวอย่างเช่น |
"Judith G. Voet" |
ชื่อที่ใช้ค้น คือ
| Voet, Judith G. หรือ Voet, Judith หรือ Voet |
1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร |
ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม ยกตัวอย่างเช่น- สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ - ททท. ชื่อที่ใช้ค้น คือ การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย |
1.2 ชื่อเรื่อง (Title)
|
เป็นการค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ |
ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง เพลงรักในสายลมหนาว, เรื่อง อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น, และเรื่อง Engineering Analysis |
1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading)
|
คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศ หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น โดยปกติแล้ว จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ |
1.4 คำสำคัญ (Keywords)
|
คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา ยกตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ค้นหา เช่น รายงานการวิจัย เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้งโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม |
2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) |
เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
|
2.1การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้
|
- AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้ คือ ส้มตำ ANDอาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร
- OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น สัมตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้ - NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลง หมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ เฉพาะที่เป็นอาหาร ไม่เอาเพลงส้มตำ เป็นต้น |
![]() |
1. ความหมาย/ทางเลือกของการสืบค้นรายการหนังสือและสื่อต่างๆ มีดังนี้ |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น ชื่อผู้แต่งที่เป็นคนต่างชาติ ให้ค้นด้วยนามสกุล (LastName) เช่น "Judith G. Voet" ต้องพิมพ์คำค้นเป็น "Voet, Judith G." หรือ "Voet, Judith" หรือ "Voet" ชื่อคนไทย ต้องใช้ชื่อต้น (FirstName) เช่น "ณัฐ ภมรประวัติ (Natth Bhamarapravati)" ต้องพิมพ์คำค้น "ณัฐ" สำหรับหนังสือภาษาไทย และพิมพ์คำค้น "Natth" สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น แดจังกึม หรือ Lover in paris เป็นต้น |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น เคมีน่ารู้ หรือ Food Science |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น ห้องสมุด - การบริหาร หรือ Library - administrative |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น การรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น TA345 I44 |
ยกตัวอย่าง เช่น WY101 อ832ผ 2542 |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น มอก. 464 2526 หรือ Pro.re.TE/Bi W253 2004 |
2. ความหมาย/ทางเลือกของการสืบค้นบทความวารสารไทย มีดังนี้ |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น ชื่อคนไทย ต้องใช้ชื่อต้น (FirstName) เช่น "กุลธิดา ท้วมสุข" ต้องพิมพ์คำค้น "กุลธิดา" สำหรับหนังสือภาษาไทย และพิมพ์คำค้น "Kultida" สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ชื่อผู้แต่งที่เป็นคนต่างชาติ ให้ค้นด้วยนามสกุล (LastName) เช่น "Douglas R. Smucker" ต้องพิมพ์คำค้นเป็น "Smucker, Douglas R." หรือ "Smock, William" หรือ "Smock" |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น ห้องสมุดมีชีวิต หรือ Netlibrary ebooks |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น เคมีน่ารู้ หรือ Food Science |
![]() |
ยกตัวอย่าง เช่น ต่อมน้ำเหลือง, โรค--การวินิจฉัย |
![]() |
การตรวจสอบรายการยืมทรัพยากรห้องสมุด
ช่องทางการเข้าใช้บริการตรวจสอบรายการยืม/การจอง/ค่าปรับทรัพยากรของห้องสมุด |
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น http://www.library.kku.ac.th/library/ โดยพิมพ์ URL นี้ ลงในช่อง Address ของ Web Brower จากนั้นให้กด Enter หรือคลิกที่ Go
จากนั้น ให้คลิกที่ ไทย เพื่อเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [หรือคลิกที่นี่ เพื่อเข้าสู่หน้าโฮมของสำนักวิทยบริการ] |
2. เข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากหน้าโฮมให้ คลิกที่ ตรวจสอบรายการยืมและยืมต่อ เพื่อเข้าสู่หน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบ เพื่อตรวจสอบรายการยืม หรือ
3. เข้าสู่ระบบได้โดยตรงที่ http://kkulib.kku.ac.th/patroninfo*thx/ โดยพิมพ์ URL นี้ ลงในช่อง Address ของ Web Brower จากนั้นให้กด Enter หรือคลิกที่ Go จะปรากฏหน้าจอ ให้ Login เข้าสู่ระบบ
จากหน้าโฮมให้ คลิกที่ ตรวจสอบรายการยืมและยืมต่อ เพื่อเข้าสู่หน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบ เพื่อตรวจสอบรายการยืม หรือ
3. เข้าสู่ระบบได้โดยตรงที่ http://kkulib.kku.ac.th/patroninfo*thx/ โดยพิมพ์ URL นี้ ลงในช่อง Address ของ Web Brower จากนั้นให้กด Enter หรือคลิกที่ Go จะปรากฏหน้าจอ ให้ Login เข้าสู่ระบบ
แสดงหน้าจอสำหรับ Login เข้าสู่ระบบ |
1. ให้พิมพ์ชื่อ - สกุล ลงในช่องรับคำค้น เช่น วิลาวัณย์ โต๊ะเอี่ยม
2. พิมพ์บาร์โค้ดด้านหลังบัตร (เป็นตัวเลข) แต่เวลาพิมพ์ลงในช่องรับคำค้นแล้ว จะไม่ทราบว่าเป็นเลขอะไร เช่น ****************** 3. คลิก Submit เพื่อดูรายการทรัพยากรที่ยืม
|
แสดงรายการทรัพยากรที่ยืมออกจากห้องสมุด ผ่านระบบ OPAC |
จะแสดงรายการทรัพยากรห้องสมุด ที่ยืมออก ผ่านระบบ OPAC บนหน้าจอนี้สามารถยืมหนังสือต่อได้ โดย 5.ให้ใช้เม้าท์คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้ารายการที่ต้องการยืมต่อ 6. คลิกที่ RENEW ALL เมื่อต้องการยืมต่อทุกรายการ หรือคลิกที่ RENEW SELLECTED ITEM เพื่อยืมต่อเฉพาะรายการที่ต้องการเท่านั้น หมายเหตุ การยืมต่อนั้น จะทำได้ต่อเมื่อ 1. ทรัพยากรรายการที่ต้องการยืมต่อนั้น ต้องไม่มีบุคคลอื่นจองผ่านระบบ OPAC ไว้ ซึ่งหากมีผู้อื่นจองไว้จะทำรายการยืมไม่ได้ ระบบจะไม่ยอมรับการยืมต่อ 2. การยืมต่อ จะต้องทำการยืมก่อนวันครบกำหนดส่งคืน อย่างน้อย 3 วัน จะทำรายการก่อนหน้านี้ หรือทำรายการหลังจากครบกำหนดส่งคืนไม่ได้ |
แหล่งที่มา
สำนักวิทยบริการ (สำนักหอสมุดและทรัพยากรการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยขอนแก่น Academic Resourch Center
สำนักวิทยบริการ (สำนักหอสมุดและทรัพยากรการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยขอนแก่น Academic Resourch Center